จัดฟันบางนา: สะพานฟัน ทันตกรรมเสริมความแข็งแรงให้ฟันของคุณ หลายคนอาจสงสัยว่าการทำสะพานฟันมีผลดีอย่างไรต่อช่องปากและฟัน เหตุผลที่ต้องทำสะพานฟันนั้นจะช่วยให้บดเคี้ยวอาหารได้ดี ช่วยให้รอยยิ้ม หัวเราะ พูดคุยได้เหมาะฟันธรรมชาติ ช่วยให้รักษาโครงสร้างใบหน้าให้คงรูปตามธรรมชาติ ป้องกันปัญหาฟันล้มที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตได้ และยังช่วยให้การสบฟันเป็นปกติได้ ที่สำคัญสะพานฟันยังช่วยให้ฟันธรรมชาติอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
สะพานฟัน คืออะไร
สะพานฟัน (Dental Bridge) คือ ฟันปลอมชนิดติดแน่นที่ประกอบด้วยครอบฟันมากกว่าหนึ่งซี่เชื่อมติดกัน โดยซี่ที่อยู่ริมสุดทั้งสองฝั่ง จะใช้สำหรับสวมเข้าไปบนฟันแท้ที่เหลืออยู่ในช่องปากเพื่อเป็นหลักยึด ตรงกลางสะพานฟันจึงลอยอยู่เหนือเหงือกคล้ายกับสะพาน โดยฟันซี่ตรงกลางของสะพานฟันเรียกว่าฟันลอยเป็นฟันซี่ที่ทดแทนฟันที่เสียไป
ประเภทของสะพานฟัน
ประเภทของสะพานฟันแบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการยึดติดของสะพานฟัน มีรายละเอียดดังนี้
1. สะพานฟันทั่วไป
สะพานฟันทั่วไป (Traditional bridge) หรือสะพานฟันแบบดั้งเดิม เป็นรูปแบบที่นิยมทำมากที่สุด ประกอบด้วยครอบฟันประเภทต่าง ๆ แล้วแต่ความต้องการของคนไข้ ซึ่งจะมีครอบฟันลอย Pontic ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อมกับครอบฟันที่ยึดติดบนฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง
การใส่สะพานฟันทั่วไป ทันตแพทย์จำเป็นต้องกรอฟันที่เป็นหลักยึดทั้งสองข้างให้มีลักษณะเหมาะสมก่อนจะครอบสะพานฟันลงไป สะพานฟันประเภทนี้มีข้อดีคือใช้ในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าสะพานฟันชนิดอื่น ๆ ข้อจำกัดสำคัญคือ จำเป็นต้องกรอฟันที่แข็งแรงเพื่อเป็นหลักยึดถึงสองซี่
2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever bridges) รูปแบบที่พัฒนาจากสะพานฟันแบบทั่วไป โดยมีลักษณะคล้ายกันเพียงแต่ใช้ฟันเป็นหลักยึดเพียงซี่เดียวเท่านั้น ผู้รับบริการจึงต้องถูกกรอฟันที่แข็งแรงเพียง 1 ซี่ แต่ความคงทนแข็งแรงจะไม่มากนัก หากเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไปมีโอกาสแตกหักได้เช่นกัน
3. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridges) หรือ สะพานฟันที่ยึดด้วยเรซิน หรือเรียกว่าสะพานฟันแบบปีกผีเสื้อ เป็นสะพานฟันที่มีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันหลักซี่ข้างเคียงทั้งซ้ายและขวาโดยใช้เรซินเป็นตัวเชื่อม ทำให้ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันที่ยึดเกาะเยอะเท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป แต่ข้อจำกัดคือความแข็งแรงจะไม่เท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป
ขั้นตอนการทำสะพานฟัน
การทำสะพานฟันไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อนมาก หากเทียบกับการทำรากฟันเทียม แต่การทำสะพานฟันต้องทำกับทันตแพทย์โดยตรงและมีการนัดหมายการรักษา 3 ครั้ง โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
– ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทาง โดยเลือกทำกับทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพราะการทำสะพานฟันเป็นการทำฟันปลอมแบบถาวร ต้องมีการวางแผนการรักษาอย่างละเอียด รวมถึงการเลือกสีและวัสดุของสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของฟันแต่ละซี่
– เตรียมฟันสำหรับเป็นหลักยึด หากทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่าควรทำสะพานฟัน หลังจากนี้จะต้องเตรียมฟันสำหรับเป็นหลักยึดและอยู่ใกล้กับฟันซี่ที่สูญเสียไป โดยทันตแพทย์จะทำการกรอฟันซี่ที่แข็งแรงซี่นั้นให้เหมาะสมสำหรับสวมสะพานฟัน
– พิมพ์ปาก บริเวณที่จะทำสะพานฟัน เพื่อส่งให้แล็บทันตกรรมผลิตสะพานฟันที่ให้พอดีกับฟันธรรมชาติ ขั้นตอนผลิตชิ้นงานสะพานฟันใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
ใส่สะพานฟันแบบชั่วคราว ระหว่างที่รอสะพานฟันจากห้องแล็บทันตกรรม ทันตแพทย์จะใส่สะพานฟันแบบชั่วคราวให้ก่อน เพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ขณะใส่สะพานฟันชั่วคราวนั้น ควรหลีกเลี่ยงการกัดเคี้ยวของแข็ง / เหนียว เพราะอาจทำให้สะพานฟันแบบชั่วคราวหลุด หรือแตกหักได้
การนัดหมายครั้งที่ 2
ใส่สะพานฟันจริง ทันตแพทย์จะถอดสะพานฟันชั่วคราวออก แล้วยึดติดสะพานฟันตัวจริงที่ผลิตจากห้องแล็บทันตกรรม จากนั้นทำการปรับแต่งสะพานฟันให้เหมาะสม ซึ่งสะพานฟันจริงจะมีความแข็งแรงและสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ สามารถใช้งานได้ปกติ
การนัดหมายครั้งที่ 3
ตรวจสอบหลังจากการใช้งาน (Recheck) ทันตแพทย์จะนัดหมายมาตรวจเช็คอีกรอบประมาณ 7-10 วันหลังจากวันที่ใส่สะพานฟัน หากมีปัญหาการใช้งานที่ผิดปกติจะได้แก้ไขให้คนไข้ได้ทันที
การดูแลสุขภาพช่องปากหลังทำสะพานฟัน
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะทำให้สะพานฟันหลุดหรือแตกได้
– แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันบริเวณสะพานฟัน และ Pontic เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบและปัญหากลิ่นปากได้
– พบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจดูความเรียบร้อยของสะพานฟัน และสุขภาพฟันโดยรอบ หากพบปัญหาจะได้แก้ไขได้ทัน
– งดรับประทานอาหารร้อนหรืออาหารเย็น หากเกิดอาการเสียวฟัน
ข้อดีของการทำสะพานฟัน
สะพานฟันใช้งานสะดวก ติดแน่นกับฟันได้อย่างดี ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดระหว่างการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร
สะพานฟันมีการกระจายน้ำหนักเพื่อรองรับการบดเคี้ยว คงทนแข็งแรง ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติได้อย่างดี
สะพานฟันช่วยป้องกันการล้มของฟันซี่ข้างเคียงได้
ช่วยให้สภาพฟันทุกซี่เรียงตัวกันเหมือนปกติ มีสีใกล้เคียงกับฟันซี่อื่น ๆ ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้รับบริการ
ไม่ต้องคอยถอดออก หรือสวมใส่เป็นประจำเหมือนฟันปลอมแบบถอดได้
ข้อเสียของการทำสะพานฟัน
ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำให้สูญเสียฟันธรรมชาติที่แข็งแรง
ฟันที่เป็นหลักยึดยังเป็นฟันตามธรรมชาติ มีโอกาสผุกร่อนใต้สะพานฟันได้
สะพานฟันมีส่วนที่ลอยตัวอยู่เหนือเหงือก อาจทำความสะอาดยากกว่าฟันธรรมชาติ ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ